Hello

Hello Long time no see. Hope everything is going well with all members and all students are ready for O-net.

Reading for O-net (I)

สวัสดีค่ะสมาชิกทุกท่าน ห่างหายกันไปนานเนื่องด้วยภารกิจในหน้าที่ประจำ ต้องขออภัยสมาชิกทุกท่านค่ะ ช่วงนี้เทศกาลสำคัญสำหรับเราคงจะไม่พ้นการทดสอบ O-net ซึ่งในวันนี้นักเรียนชั้น ม.๓ ก็เริ่มทำการทดสอบแล้วและวิชาภาษาอังกฤษก็น่าจะยังเป็นเป้าสำคัญที่จะต้องได้รับการปรับปรุงขึ้น สำหรับโพสท์ในวันนี้ครูป้อมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนชั้น ม.๖ ที่จะลงสนามทดสอบในสัปดาห์หน้าค่ะ เพราะจะเห็นว่ากว่า ๕๐% ของข้อสอบนั่นก็คือ Reading ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถพิชิตข้อสอบได้เกินครึ่งซึ่งมีเทคนิคมากมายที่จะต้องรู้ คือ
ประเภทของการอ่าน (Types of reading) ซึ่งก็มีที่นักเรียนคุ้นเคยและพบเห็นได้ในข้อสอบระดับต่าง ๆ ดังนี้
๑. Passage เป็oการอ่านข้อความซึ่งก็มีตั้งแต่ข้อความสั้น ๆ จนถึงบทความ
๒. Poem การอ่านกลอน
๓. Speed reading การอ่านเร็ว ได้แก่ Weaher forecast, Horoscope, Advertisement, Menu, Graph & Diagram, Dictionary, etc.
ซึ่งแต่ละประเภทนักเรียนต้องเลือกใช้วิธีอ่านที่ถุกต้องทั้ง Scanning และ Skimming อย่าลืมหาตัวอย่างข้อสอบมาฝึกฝนเยอะ ๆ อ้อทำแล้วค่อยดูเฉลยนะจ๊ะ

Communicative English Sentence

สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ สมาชิกทุกคนสำหรับเรื่องใหม่ในวันนี้เป้นเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบประโยคที่ใข้ในการสื่อสารในสถานการณ์จริง ซึ่งพอที่จะสรุปได้ดังนี้

1. Subject+ Verb to be + noun, pronoun,  adverb, preposition ใช้ในความหมาย่าเป็น อยู่ คือ

2. Subject + Verb to be/linking verb + adjective ใช้ในการบรรยายลักษณะ

3. Subject + Verb to be + Verb ing + complement ใช้ในการบรรยายเหตุการณ์ที่กำลังกระทำ

4. Subject + Verb to be + Verb3 + complement ใช้ในการบรรยายเหตุการณ์ที่ถูกกระทำ

5. Subject + Verb1(s,es) + complement ใช้บรรยายเหตุการณ์ปัจจุบัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำสม่ำเสมอ และเหตุการณ์ที่เป็นจริง

6. Subject + Verb2 +complement ใช้บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตโดยมีเวลาระบุแน่นอน

7. Subject + Verb to have + Verb 3 + complement ใช้บรรยายเหตุการณ์ที่แสดงความต่อเนื่องของการกระทำ

8. Subject + Verb ตระกูล will + infinitive without to (Verb0) + complement ใช้บรรยายเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นอยู่กับ verb ตระกูล will

9. (Don’t ) verb 0 + complement ใช้ในการออกคำสั่ง หรือ ขอร้อง ว่าให้หรือไม่ให้กระทำ

10.(Wh) helping verb + Subject + finite verb + com[lement? ใช้ในการคั้งคำถาม

11. Subject + helping verb + not + finite verb + complement. ใช้ในการปฏิเสธ

12. Subject + Verb 9ive + direct object +to+  indirest object + complement. .=ใช้บรรยายเหตุการณ์ที่มีกรรม 2 ตัว สือกรรมตรงและกรรมรอง

Subject + Verb give + indirect object + direct object + complement.

13. Subject + Verb bring + direct object + for + indirect object + complement. ใช้บรรยายเหตุการณ์ที่มีกรรม 2 ตัว คือกรรมตรงและกรรมรอง

Subject + Verb bring + indirect object + direct object + complement.

Critical Reader

การอ่านคิดวิเคราะห์ นักอ่านที่ดีจะต้องรู้เท่าทันวัตถุประสงค์ (purpose) สภาวทางอารมณ์(Tone) และ ทัศนคติ (Attitude) ที่ผู้เขียนต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้ โดยใช้คำต่าง ๆ หรือโครงสร้างประโยค ซึ่งผู้อ่านไม่สามารถจะหาคำตอบได้โดยตรงต้องสรุปเรื่องราวทั้งหมดให้ได้ โดยมากคำศัพท์ที่ผู้ออกข้อสอบนำมาใช้ในการสอบอ่านเชิงวิเคราะห์ มีดังนี้

Purpose : inform (ให้ความรู้), entertain (ให้ความบันเทิง), persuade (ชักชวน), predict (ทำนาย), criticize (วิจารณ์), recommend (แนะนำ), promote (ส่งเสริม), analyze (วิเคาะห์), classify (ทำให้กระจ่าง), report (รายงาน), compare (เปรียบเทียบ), contrast(เปรียบต่าง), convince (ชักชวน), debate (โต้แย้ง)

Tone: philosophical (เชิงปรัชญา), humourous (ขบขัน), sarcastic (กระทบกระเทียบ), optimistic (มองโลกในแง่ดี), persuasive (โน้มน้าว จูงใจ), pesstimistic (มองโลกในแง่ร้าย), regretful (เสียใจ),concerned (เป็นห่วง), bitter(ขมขื่น), frustrate (สับสน), appreciate (ชื่นชม), serious (จริงจัง), romantic(โรแมนติก), sympathy (เห็นใจ)

Attitude: appreciate (ซาบซึ้ง), sympathetic (เห็นใจ)} hatred (เกลียดชัง), prejudice (ลำเอียง), bias (อคติ), positive (ในทางที่ดี), negative (ในทางลบ), admired(ชื่นชม),concerned (เป็นห่วง), approve of (เห็นด้วย), praise(ชื่นชม)

ทำไมต้อง How are you?

                    วันนี้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมคนไข้ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ จากบรรยากาศการใช้ภาษาของผู้คนภายในโรงพยาบาลตั้งแต่ประตู ในลิฟท์ หรือในร้านอาหาร ทำให้ครูคิดถึงการเข้าร่วมชุมชนอาเซียนในอนาคตของนักเรียนทุกคนว่ามีความพร้อมกันมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ การสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษนอกจากหลักการที่ครูป้อมเคยโพสท์ไปแล้วว่านักเรียนจะต้องปฏิบัติสิ่งที่สำคัญ 3 ประการคือ 1.สร้างความมั่นใจในตนเองว่าเราต้องพูดได้ 2. จดจำวลี สำนวนตำ และรูปแบบประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และ 3. ฝึกฝนอบ่างต่อเนื่อง แล้วนักเรียนจะต้องศึกษาถึงวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่ด้วย เช่น ทำไมต้องทักทายด้วย How are you? แต่คนไทยมักจะทักกันว่าไปไหนมา กินข้าวหรือยัง

                    การที่เจ้าของภาษาใช้ How are you? นั่นแสดงว่าเขาคิดถึงสุขภาพของคู่สนทนาเป้นอันดับแรก ทั้งนี้เนื่องจากสภาพอากาศของเขานั้นเปลี่ยนแปลงทุกวันดังนั้นการถามเกี่ยวกับสุขภาพจึงเป็นที่นิยมในการเริ่มสนทนา นอกจาก How are you? แล้วนักเรียนยังสามารถใช้สำนวนต่อไปนี้ได้เช่นเดียวกันค่ะ What’s up? How are you going? หรือ How’ re things? เป็นต้น และสิ่งที่ไม่นิยมถามในการพูดคุยได้แก่หัวข้อที่เป็นเรื่องส่วนตัวมากๆ เช่น อายุ น้ำหนัก เงิน เป็นต้น ดังนั้นการที่นักเรียนจะเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของอาเซียน การพูดภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่สอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของเจ้าของภาษาก็สำคัญมากค่ะ

 

How to speak fluently!

http://www.youtube.com/watch?v=FX4uSGraHhE

มาดูวิธีการที่ทำให้สามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างมั่นใจค่ะ ไม่มีอะไรซับซ้อนนะคะ 1. Self-Esteem 2. Speak Confidently และ 3. Practice continuously ผู้อ่านท่านใดที่มีเทคนิคดีๆ มาแชร์กันค่ะ ถ้าต้องการศึกษาเพิ่มเติมดูได้ที่ http://wabstalk.com ค่ะ

อ่านอย่างไรให้เข้าใจ

                  นี้เป็นคำถามยอดนิยมที่เด็กๆ ถามกันมากเป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษ ครูป้อมก็เลยขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากประสบการณ์ของครูเองนะคะ ก่อนอื่นควรจะตั้งจุดมุ่งหมายว่าต้องการอะไรจากสิ่งทีกำลังอ่าน แล้วใช้วิธีการสำคัญสองวิธีคือ Scanning และ Skimming มาช่วยในการหาข้อมูล ถ้าต้องการรายละเอียดหรือข้อมูลสำคัญๆ ก็ใช้ scanning แต่ถ้าต้องการสรุปลงความคิดเห็น จะใช้วิธีการอ่านแบบ skimming หรือในบางกรณีก็ต้องใช้ทั้งสองวิธีคู่กัน และสิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ข้อมูลจะน่าเชื่อถือจะต้องมีแหล่งอ้างอิงด้วยนะคะ

SMEDU 4

สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชาว  SMEDU4 ทุกท่านคงเดินทางถึงจุดหมายปลายทางโดยสวัสดิภาพแล้วนะคะ หลังจากการคร่ำเคร่งในการประชุมเชิงปฏิบัติการที่เข้มข้น จากคณะวิทยากร คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ของ สทร. ที่น่ารักทุกคน รู้สึกยินดีมากที่เห็นครูยุคใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของ Social Media ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านการประเมิน และหวังจะได้เห็นเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่ของเราชาว SMEDU ทุกรุ่นค่ะ